งานวิจัยThaiLIS
Title
สภาพการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2
Title Alternative
The status of teamwork in the basic of educational school under the Office of Lampang Educational Service Area 2
Creator
Name: ไมตรี ทาปลูก
Subject
keyword: การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาแนวทางในการพัฒนาทีมงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 118 คน และครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้บริหารเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใข้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูทั้งที่จำแนกโดยวุฒิการศึกษาประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า สภาพการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ผู้นำทีม สมาชิกในทีม การพัฒนาทีมงาน และบรรยากาศในการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูมีความคิดเห็นตรงกันคึอ สภาพการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับผู้นำทีมรายการที่มีระดับความคิดเห็นมากกว่ารายการอื่น คือ ผู้นำทีมใจกว้างเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมงานได้มีโอกาสทำงานให้สำเร็จได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปและรายการที่มีระดมความคิดเห็นน้อยกว่ารายการอื่น คือ ผู้นำทีมมีวิธีขจัดความขัดแย้งที่ดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ผู้นำทีมมีความมั่นคงทางอารมณ์สูง สภาพการทำงานเป็นทีมที่เกี่ยวกับสมาชิกภายในทีม รายการที่มีระดับความคิดเห็นมากกว่ารายการอื่น คือ สมาชิกในทีมงานมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับอยหมายและพยายามทำงานนั้นให้สำเร็จเป็นอย่างดี และรายการที่มีระดับความคิดเห็นน้อยกว่ารายการอื่น คือ สมาชิกในทีมงานมีความคิดริเรื่มสร้างสรรค์ สภาพการทำงานเป็นทีมที่เกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงานเป็นทีม รายการที่มีระดับความคิดเห็นมากกว่ารายการอื่น คือ ในทีมงานใช้การทำงานแบบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีและรายการที่มีระดับความคิดเห็นน้อยกว่ารายการอื่น คือ การตัดสินใจในทีมงานขึ้นอยู่กับผู้นำมีมากกว่าการตัดสินใจโดยสมาชิกทั้งหมด สภาพการทำงานเป็นทีมที่เกี่ยวกับการพัฒนาทีมงาน รายการที่มีระดับความคิดเห็นมากกว่ารายการอื่น คือ สมาชิกในทีมงานได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานอยู่เสมอ และรายการมีระดับความคิดเห็นน้อยกว่ารายการอื่น คือ ทีมงานได้รับการฝึกอบรมในการทำงานเป็นทีมการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทีมงานที่มีค่าความถี่มากกว่าข้อเสนอแนะอื่น คือการศึกษาดูงานในสถานศึกษา สถานประกอบการหรือ หน่วยงาน องค์การต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จในการบรหารจัดการ รองลงมาคือ การฝึกอบรมด้านทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและกระบวนการในการทำงานเป็นทีม ในส่วนของเนื้อหาและกอจกรรมในการพัฒนาทีมงานที่มีค่าความถี่มากกว่าข้อเสนอแนะอื่น คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนและการปฏิบัติราชการ รองลงมาคือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ "
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ลำปาง
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Contributor
Name: สมาน ฟูแสง
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Name: เฉลิมชัย สุขขจิตต์
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2549-05
Modified: 2556-04-25
Issued: 2550
Title
การศึกษาลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
Creator
Name: พรชัย คำรพ
Subject
keyword: การจัดการศึกษา
Classification :.DDC: วพ 373.1 \b พ ก
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มี ประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน วุฒิการศึกษา และขนาด ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาตราด ที่มีต่อลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอีก 5 ด้าน แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการ สื่อสารแบบเปิด ด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเป้าหมาย และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนอีก 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตาม วุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฎิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความ ไว้เนื้อเชื่อใจ ด้านการสื่อสารแบบเปิด และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนอีก 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Address: จันทบุรี
Date
Created: 2547-05-00
Title
การศึกษาลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
Creator
Name: พรชัย คำรพ
Subject
keyword: การจัดการศึกษา
Classification :.DDC: วพ 373.1 \b พ ก
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มี ประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน วุฒิการศึกษา และขนาด ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาตราด ที่มีต่อลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอีก 5 ด้าน แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการ สื่อสารแบบเปิด ด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเป้าหมาย และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนอีก 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตาม วุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. เปรียบเทียบลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฎิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความ ไว้เนื้อเชื่อใจ ด้านการสื่อสารแบบเปิด และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ส่วนอีก 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Address: จันทบุรี
Date
Created: 2547-05-00
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น